Thursday, January 8, 2009

"เด็กที่มีความต้องการพิเศษ" โดย สถาบันราชภัฎนครราชสีมา

ความหมายของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

โดยสภาพทั่วไปในสังคมหากใครทำอะไร มีอะไร หรือปฏิบัติอะไรที่ไม่เหมือนกับสมาชิกคนอื่น ๆ ในสังคม เรามักจะเรียกบุคคลเหล่านี้ว่าเป็นคนที่มีความต้องการพิเศษ ทั้งนี้เพราะสังคมยอมรับและมีบรรทัดฐาน (norm) ที่เป็นตัวกำหนด หรือคาดการณ์ไว้ว่าทุกคนจะต้องทำอย่างนั้น อย่างนี้ สำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษนั้นเราก็อาศัยบรรทัดฐาน (norm) ที่มีการศึกษาค้นคว้าและบันทึกเอาไว้ว่า เมื่อเด็กเกิดมาแล้วจะต้องมีอะไรมีลักษณะอย่างไร และสามารถปฏิบัตอย่างไรได้เช่นเดียวกับคนอื่น ๆในสังคมบ้าง รวมไปถึงเรื่องของพัฒนาการหรือพฤติกรรมว่าเหมือนกับที่มีการศึกษาค้นคว้าเอาไว้หรือไม่ หากเกิดมาและมีมีการเบี่ยงเบนไปจากบรรทัดฐานที่กำหนดไว้ เราก็มักจะมีเรียกตามลักษณะที่ขาดหายหรือตามที่บกพร่องไป เช่น เด็กตาบอด เด็กปัญญาอ่อน เด็กแขนด้วน ขาด้วน เป็นต้น นั้นเป็นการเรียกกันตามสภาพที่เห็นว่าไม่เหมือนคนทั่วไป แต่ในทางวิชาการเรามักจะใช้การเรียกรวม ๆ ว่า เด็กที่มีความต้องการพิเศษ ดังนั้นหากจะจำกัดความของคำว่า เด็กที่มีความต้องพิเศษ จะพบว่ามีความหมายที่กว้างมาก ซึ่งองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้พยายามที่จะจำกัดความหรือให้ความหมายของคำว่า เด็กที่มีความต้องการพิเศษ เพื่อให้เป็นแนวทางสำหรับการทำความเข้าใจว่า เด็กที่มีความต้องการพิเศษจะต้องอยู่ในขอบเขต 3 ประการ คือ
1. ความบกพร่อง (Impairment)
2. ไร้สมรรถภาพ (Disability)
3. ความเสียเปรียบ (Handicap)

เพิ่มเติม >>
ประเภทและลักษณะ
เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา (Children with Intellectual Disabilities)
เด็กที่มีความพกพร่องทางการได้ยิน (Children with Hearing Impaired)
เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ (Children with Physical and Health Impairments)
เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา (Children with Speech and Language disorders)
เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ (Children with behaviorally and Emotional disorders)
เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ (LD) (Children with Learning Disabilities)


ลักษณะของเด็กที่มีความต้องการพิเศษประเภทต่าง ๆ

ลักษณะของเด็กที่มีความต้องการพิเศษประเภทต่าง ๆ
เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น
เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา
เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้

การจัดการศึกษาสำหรับเด็กบกพร่องทางสติปัญญา
การจัดการศึกษาสำหรับเด็กบกพร่องทางสติปัญญา
การช่วยเหลือเด็กบกพร่องทางสติปัญญาในชั้นเรียนปกติ
การจัดการศึกษาสำหรับเด็กบกพร่องทางการได้ยิน
การช่วยเหลือเด็กบกพร่องทางการได้ยินในชั้นเรียนปกติ
การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น
การช่วยเหลือเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นในชั้นเรียนปกติ
การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
การช่วยเหลือเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพในชั้นเรียนปกติ

No comments:

Post a Comment