Tuesday, June 2, 2009

ภาพบรรยากาศการตรวจเยี่ยมโรงเรียนในโครงการวิจัยเด็ก LD


ภาพบรรยากาศการตรวจเยี่ยมโรงเรียนในโครงการวิจัยเด็ก
คลิกที่ภาพชมภาพกิจกรรม >>

Tuesday, April 7, 2009

ภาพบรรยากาศการประชุมปฏิบัติการวิจัยพัฒนาสื่อการเรียนการสอนและการวัดประเมินผล สำหรับเด็กนักเรียนที่มีปัญหา ทางการเรียนรู้ LD

ภาพบรรยากาศการประชุมปฏิบัติการวิจัยพัฒนาสื่อการเรียนการสอนและการวัดประเมินผล สำหรับเด็กนักเรียนที่มีปัญหา ทางการเรียนรู้ LD สพท.สร.1 เมื่อวันที่ 21 - 22 มีนาคม 2552

Tuesday, March 31, 2009

ชื่อหัวข้อวิจัย โครงการพัฒนาครูสู่มืออาชีพโดยวิธีวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน "วิจัยเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้"

ชื่อหัวข้อวิจัย โครงการพัฒนาครูสู่มืออาชีพโดยวิธีวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน
"วิจัยเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้"(LD)
โดย นายอิศรพงษ์ แสงตะวัน

ดูรายชื่อหัวข้อวิจัย <<

Tuesday, March 24, 2009

การออกแบบการวิจัยและการพัฒนา : "ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.คนึง สายแก้ว "

การออกแบบการวิจัยและการพัฒนา
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.คนึง สายแก้ว
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

อ่านรายละเอียดที่นี่<<

Monday, March 23, 2009

การวิจัยเพื่อพัฒนางาน กระบวนการเรียนรู้กลุ่มเด็ก LD : ดร.กัญญา โพธิวัฒน์

การวิจัยเพื่อพัฒนางาน กระบวนการเรียนรู้กลุ่มเด็ก LD
โดย : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กัญญา โพธิวัฒน์

คลิกอ่านที่นี่<<

Wednesday, January 28, 2009

คูปองการศึกษาพิเศษ นักเรียนเรียนร่วม ปีการศึกษา 2549 สพท.สร.1

คูปองการศึกษาพิเศษ นักเรียนเรียนร่วม ปีการศึกษา 2549 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1
[ คูปองการศึกษาพิเศษ ]

ข้อมูลพื้นฐานนักเรียนในสังกัด สพท.สุรินทร์เขต1ที่มีความต้องการพิเศษเรียนร่วมประจำปี 2551

ข้อมูลพื้นฐานนักเรียนในสังกัด สพท.สุรินทร์เขต 1ที่มีความต้องการพิเศษเรียนร่วมประจำปี 2551

ร่วมงานวิจัยเด็ก LD หัวข้อ "การจัดการเรียนร่วม"

ร่วมงานวิจัยเด็ก LD หัวข้อ "การจัดการเรียนร่วม"
1.

2.
4.

5.

6.

ร่วมงานวิจัยเด็ก LD

[ร่วมงานวิจัยเด็ก LD]
1.การพัฒนาแผนการสอนทักษะภาษาไทยด้วยวิธีการสอนแบบการเรียนรู้ตามสภาพ ที่แท้จริงสำหรับนักเรียนที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 4 โดย พัชร เศรษฐวิวรรธน์
[-Donwload-]
2.

4.

5.

6.

7.


8.

9.


11.



12.


13.

14.

15.


16.

Thursday, January 8, 2009

"เด็กที่มีความบกพร่องในการเรียนรู้(Learning Disabilities)" โดย www.autismthai.com

ความบกพร่องด้านการเรียนรู้ (Learning disabilities, LD)
เป็นความบกพร่องในกระบวนการเรียนรู้ที่แสดงออกมาในรูปของปัญหาการอ่าน การเขียน การสะกดคำ การคำนวณและเหตุผลเชิงคณิตศาสตร์ เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของสมอง ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำกว่าที่ควรจะเป็น โดยพิจารณาจากผลการเรียนเปรียบเทียบกับระดับเชาวน์ปัญญาเด็ก LD น่าจะมีสาเหตุจากสมองทำงานผิดปกติ โดยมีรายงานการวิจัยสนับสนุนดังนี้
1. พยาธิสภาพของสมอง การศึกษาเด็กที่มีบาดแผลทางสมอง เช่น คลอดก่อนกำหนด ตัวเหลืองหลังคลอด แต่มีสติปัญญาปกติ พบว่ามีปัญหาการอ่านร่วมด้วย
2. ความผิดปกติของสมองซีกซ้าย โดยปกติสมองซีกซ้ายจะควบคุมการแสดงออกทางด้านภาษา และสมองซีกซ้ายจะมีขนาดโตกว่าซีกขวา แต่เด็กLD สมองซีกซ้ายและซีกขวาเท่ากัน และมีความผิดปกติอื่นๆ ที่สมองซีกซ้ายด้วย
3. ความผิดปกติของคลื่นสมอง เด็ก LD จะมีคลื่นอัลฟาที่สมองซีกซ้ายมากกว่าเด็กปกติ
4. กรรมพันธุ์ เด็กที่มีปัญหาการอ่าน บางรายมีความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 15 และสมาชิกของครอบครัวเคยเป็น LD โดยที่พ่อแม่มักเล่าว่า เมื่อตอนเด็กๆ ตนเคยมีลักษณะคล้ายๆกัน
5. พัฒนาการล่าช้า เดิมเชื่อว่าเด็ก LD มีผลจากพัฒนาการล่าช้า แต่ปัจจุบันไม่เชื่อเช่นนั้น เพราะเมื่อโตขึ้นเด็กไม่ได้หายจากโรคนี้
>>ประเภทของปัญหาการเรียนรู้
 ความบกพร่องด้านการพูด การฟัง
เด็กไม่สามารถถ่ายทอดความคิดออกมาเป็นคำพูดที่เหมาะสม เด็กอาจจะพูดได้ช้าหรือใช้คำพูดไม่เป็น หรืออาจจะออกเสียงคำต่างๆ ได้ไม่ถูกต้อง เด็กต้องใช้ความพยายามอย่างมากในการทำความเข้าใจกับคำพูดที่ได้ยิน ซึ่งทำให้คนอื่นคิดว่าเด็กไม่สนใจฟัง เด็กที่มีปัญหาด้านนี้อาจขอให้คนอื่นพูดประโยคเดิมซ้ำอีก จนบางครั้งทำให้คนอื่นรู้สึกหงุดหงิด รำคาญ หรือหัวเราะเยาะ
 ความบกพร่องด้านการเขียนและสะกดคำ
ในการเขียนพยัญชนะ เด็กจะลากเส้นวนๆ ไม่รู้ว่าจะม้วนหัวเข้าหรือออก เรียงลำดับอักษรผิด เช่น สถิติ เป็นสติถิเขียนพยัญชนะหรือตัวเลขสลับกัน ม-น, ภ-ถ, ด-ค, b-d, p-q, 6-9 เขียนพยัญชนะกลับกัน คล้ายมองจากกระจกเงา สะกดคำผิด เป็นต้น
เขียนหนังสือ ลอกโจทย์จากกระดานช้า เพราะกลัวสะกดผิด เขียนไม่ตรงบรรทัด เขียนต่ำหรือเหนือเส้น ขนาดตัวอักษรไม่เท่ากัน ไม่เว้นขอบ ไม่เว้นช่องไฟ จับดินสอหรือจับปากกาแน่นมาก ลบบ่อยๆ เขียนทับคำเดิมหลายครั้ง เขียนหนังสือตัวโต
 ความบกพร่องด้านการอ่าน
เด็กจะมีความยากลำบากในการอ่าน เช่น อ่านคำต่อคำ จะต้องสะกดคำจึงจะอ่านได้ อ่านออกเสียงไม่ชัดเจน ไม่ระมัดระวังในการอ่าน อ่านเพิ่มเติม อ่านผิดประโยค หรือผิดตำแหน่ง อ่านโดยไม่เน้นคำ หรือเน้นข้อความบางตอน จำคำศัพท์ได้จำกัด พยายามอธิบายความหมายของคำที่อ่านไม่ได้ ผันเสียงวรรณยุกต์ไม่ได้ จับใจความสำคัญ หรือเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่องที่อ่านไม่ได้ ไม่รู้จักเดาคำจากคำหรือประโยคที่อยู่หน้าหรือหลังคำ หรือย่อหน้านั้นๆ
 ความบกพร่องด้านการคำนวณและเหตุผลเชิงคณิตศาสตร์
เด็กไม่เข้าใจค่าของตัวเลข (Concept of number) ได้แก่ หลักหน่วย สิบ ร้อย พัน หมื่น... นับเลขไปข้างหน้าหรือนับเลขย้อนหลังไม่ได้ คำนวณบวก ลบ คูณ หาร ด้วยการนับนิ้ว จำสูตรคูณไม่ได้ เขียนเลขกลับกัน เช่น 13 เป็น 31 ยุ่งยากกับการตีโจทย์ปัญหา หรือการอ่านตัวเลขหลายตัว บางคนอาจใช้วิธีท่องจำและเขียนคำตอบได้ แต่เมื่อให้แก้ไขโจทย์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันกลับทำไม่ได้ เช่น ไม่สามารถแลก/ทอนสตางค์ได้ ไม่เข้าใจเรื่องเวลา สอนเรื่องเวลาได้ยาก
 ปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์ที่อาจพบร่วมด้วย
เด็กที่มีปัญหาการอ่าน การเขียน การสะกดคำและการคำนวณ มักรู้สึกหงุดหงิดและรู้สึกด้อยที่ตนเองทำไม่ได้ทัดเทียมเพื่อนๆ ดังนั้นเด็กอาจแสดงพฤติกรรมในรูปแบบต่างๆ ดังนี้ หลีกเลี่ยงการอ่าน การเขียน ทำสมุดการบ้านหายบ่อยๆ บางคนอาจต่อต้านแบบดื้อเงียบ ไม่ทำตามที่ครูสั่ง หรือปฏิเสธโดยตรง ทำให้ดูเป็นเด็กเกียจคร้าน ไม่มีสมาธิในการเรียน ทำงานช้า ทำงานไม่เสร็จในชั้นเรียน ทำงานสะเพร่า ความจำไม่ดี เรียนได้หน้าลืมหลัง ออดอ้อนแบบเด็กๆ โดยเฉพาะกรณีที่มีน้องเล็ก กลัวครูดุ กลัวเพื่อนล้อว่า "อ่านหนังสือช้า" กล่าวโทษว่าครูสอนไม่ดี เพื่อนแกล้ง รู้สึกเบื่อหน่ายท้อแท้ รู้สึกว่าตนเอง "ไม่เก่ง" "รู้สึกด้อย" และไม่มั่นใจในตนเอง มักตอบคำถามว่า " ทำไม่ได้" "ไม่รู้" "ไม่ทราบ" ทำตัวเป็นตัวตลกในห้องเรียน เพื่อกลบเกลื่อนอารมณ์ขึ้นๆลงๆหงุดหงิดง่าย ไม่อดทน ก้าวร้าวกับเพื่อนพี่น้องครู หรือพ่อแม่
>>การช่วยเหลือเด็ก LD
การช่วยเหลือที่สำคัญทีสุดคือ การจัดการศึกษาพิเศษในรูปแบบที่เหมาะสมกับเด็กในแต่ละราย ปัจจุบันประเทศไทยยังมีครูการศึกษาพิเศษไม่เพียงพอกับความต้องการของเด็ก ดังนั้นการช่วยเหลือเด็ก LD จะต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างครูการศึกษาพิเศษ ครูประจำชั้น นักจิตวิทยา แพทย์ และผู้ปกครอง
การจัดการเรียนการสอน
การจัดการเรียนการสอนจำเป็นต้องทำแผนการเรียนการสอนเฉพาะบุคคลที่เรียกว่า Individual Educational Planning (IEP) โดยจัดทำเป็นเทอมหรือเป็นปี มีการกำหนดวัตถุประสงค์ของการเรียนอย่างเป็นขั้นตอนและกำหนดวิธีที่จะไปถึงเป้าหมายนั้น และควรเขียนในรูปแบบที่เข้าใจง่ายและนำไปปฏิบัติได้
>>การช่วยเหลือด้านอื่นๆ
เด็ก LD มักพบปัญหาอื่นๆร่วมด้วย ดังนั้นจำเป็น ต้องให้ความช่วยเหลือด้านอื่นควบคู่กันไป เช่น การรักษาด้วยยา การฝึกพูด การฝึกกล้ามเนื้อมือมัดเล็ก เป็นต้น
ที่มา: www.autismthai.com

"เด็กที่มีความต้องการพิเศษ" โดย สถาบันราชภัฎนครราชสีมา

ความหมายของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

โดยสภาพทั่วไปในสังคมหากใครทำอะไร มีอะไร หรือปฏิบัติอะไรที่ไม่เหมือนกับสมาชิกคนอื่น ๆ ในสังคม เรามักจะเรียกบุคคลเหล่านี้ว่าเป็นคนที่มีความต้องการพิเศษ ทั้งนี้เพราะสังคมยอมรับและมีบรรทัดฐาน (norm) ที่เป็นตัวกำหนด หรือคาดการณ์ไว้ว่าทุกคนจะต้องทำอย่างนั้น อย่างนี้ สำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษนั้นเราก็อาศัยบรรทัดฐาน (norm) ที่มีการศึกษาค้นคว้าและบันทึกเอาไว้ว่า เมื่อเด็กเกิดมาแล้วจะต้องมีอะไรมีลักษณะอย่างไร และสามารถปฏิบัตอย่างไรได้เช่นเดียวกับคนอื่น ๆในสังคมบ้าง รวมไปถึงเรื่องของพัฒนาการหรือพฤติกรรมว่าเหมือนกับที่มีการศึกษาค้นคว้าเอาไว้หรือไม่ หากเกิดมาและมีมีการเบี่ยงเบนไปจากบรรทัดฐานที่กำหนดไว้ เราก็มักจะมีเรียกตามลักษณะที่ขาดหายหรือตามที่บกพร่องไป เช่น เด็กตาบอด เด็กปัญญาอ่อน เด็กแขนด้วน ขาด้วน เป็นต้น นั้นเป็นการเรียกกันตามสภาพที่เห็นว่าไม่เหมือนคนทั่วไป แต่ในทางวิชาการเรามักจะใช้การเรียกรวม ๆ ว่า เด็กที่มีความต้องการพิเศษ ดังนั้นหากจะจำกัดความของคำว่า เด็กที่มีความต้องพิเศษ จะพบว่ามีความหมายที่กว้างมาก ซึ่งองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้พยายามที่จะจำกัดความหรือให้ความหมายของคำว่า เด็กที่มีความต้องการพิเศษ เพื่อให้เป็นแนวทางสำหรับการทำความเข้าใจว่า เด็กที่มีความต้องการพิเศษจะต้องอยู่ในขอบเขต 3 ประการ คือ
1. ความบกพร่อง (Impairment)
2. ไร้สมรรถภาพ (Disability)
3. ความเสียเปรียบ (Handicap)

เพิ่มเติม >>
ประเภทและลักษณะ
เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา (Children with Intellectual Disabilities)
เด็กที่มีความพกพร่องทางการได้ยิน (Children with Hearing Impaired)
เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ (Children with Physical and Health Impairments)
เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา (Children with Speech and Language disorders)
เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ (Children with behaviorally and Emotional disorders)
เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ (LD) (Children with Learning Disabilities)


ลักษณะของเด็กที่มีความต้องการพิเศษประเภทต่าง ๆ

ลักษณะของเด็กที่มีความต้องการพิเศษประเภทต่าง ๆ
เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น
เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา
เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้

การจัดการศึกษาสำหรับเด็กบกพร่องทางสติปัญญา
การจัดการศึกษาสำหรับเด็กบกพร่องทางสติปัญญา
การช่วยเหลือเด็กบกพร่องทางสติปัญญาในชั้นเรียนปกติ
การจัดการศึกษาสำหรับเด็กบกพร่องทางการได้ยิน
การช่วยเหลือเด็กบกพร่องทางการได้ยินในชั้นเรียนปกติ
การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น
การช่วยเหลือเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นในชั้นเรียนปกติ
การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
การช่วยเหลือเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพในชั้นเรียนปกติ

"Learning Disorders " by National Institute of Neurological Disorders and Stroke


Learning Disorders
Also called: Learning differences, Learning disabilities
Learning disorders affect how a person understands, remembers and responds to new information. People with learning disorders may have problems
Listening or paying attention
Speaking
Reading or writing
Doing math
Although learning disorders occur in very young children, they are usually not recognized until the child reaches school age. About one-third of children who have learning disabilities also have ADHD, which makes it hard to focus.
Evaluation and testing by a trained professional can help identify a learning disorder. The next step is special education, which involves helping your child in the areas where he or she needs the most help. Sometimes tutors or speech or language therapists also work with the children. Learning disorders do not go away, but strategies to work around them can make them less of a problem.
National Institute of Neurological Disorders and Stroke

"ความบกพร่องทางการเรียน (Learning Disability) คืออะไร" โดย นันทณี เสถียรศักดิ์พงศ์


ความบกพร่องทางการเรียน (Learning Disability) คืออะไร
นันทณี เสถียรศักดิ์พงศ์
น้อยหน่า
ตอนที่อายุ 14 ปี น้อยหน่ายังคงเป็นคนเงียบ ๆ ไม่ค่อยพูดจากับใคร ตั้งแต่ยังเป็นเด็กน้อยหน่ามักหลีกเลี่ยงที่จะพูดจากับผู้คน จนบางครั้งทุกคนลืมไปว่ามีน้อยหน่าอยู่ที่นั่นด้วย น้อยหน่ามักตกอยู่ในภวังค์ความคิดของเธอเอง นานๆ จะพูดซักครั้ง เวลาที่น้อยหน่าเปิดปากพูดสนทนา น้อยหน่าก็มักเรียกชื่อวัตถุผิดๆ ถูกๆ บ่อยๆ เข้าน้อยหน่าแทบจะไม่มีเพื่อน และมักใช้เวลาส่วนใหญ่ของเธอหมดไปกับการเล่นกับตุ๊กตาหรือกับน้องสาวที่ยังเล็ก ที่โรงเรียนน้อยหน่าเกลียดการอ่านหนังสือและวิชาคณิตศาสตร์ เพราะว่า ตัวอักษร ตัวเลข หรือแม้แต่เครื่องหมาย + และ – ช่างไม่มีความหมายสำหรับเธอเอาเสียเลย น้อยหน่ารู้สึกกลัวตัวเอง เคยมีคนบอกเธอ และทำให้เธอเชื่อว่าเธอเป็นปัญญาอ่อน

มนตรี
มนตรีอายุได้ 46 ปี และยังคงมีปัญหาที่จะเข้าใจในสิ่งที่คนอื่นๆ พูด ตอนที่เขายังเด็ก คำหลายคำฟังดูเหมือนกัน พ่อของมนตรีอดทนที่จะพูดสิ่งต่างๆ ซ้ำแล้วซ้ำอีก แต่เมื่อไหร่ก็ตามถ้าแม่ของเขาเมา แม่มักพุ่งเข้ามาตีเขาด้วยเหตุผลที่เขาไม่ฟัง ภาษาพูดของมนตรีฟังดูขบขัน เขาช่างมีปัญหาในการพูดคำต่างๆ ซึ่งคุณครูที่โรงเรียนบางครั้งไม่เข้าใจเขาเอาเสียเลย เมื่อเพื่อนๆที่ชั้นเรียนเรียกเขาว่า “ไอ้โง่” มนตรีมักจะยกกำปั้นขึ้นมาให้

กานน
กานนอายุ 23 ปี และยังคงดูเหมือนว่ามีพลังงานเหลือเฟือ ตอนที่เป็นเด็กเขามักอยู่ไม่นิ่งเสมอ บางครั้งกระโดดบนเก้าอี้โซฟาได้เป็นหลายชั่วโมงจนกว่าเขาจะเหนื่อยอ่อนหมดแรงไปเอง ช่วงที่เรียนที่โรงเรียนเขาไม่เคยนั่งที่ได้ เขามักจะทำให้การเรียนการสอนหยุดชะงัก แต่ว่าเขาเป็นมิตรกับทุกคน เป็นเด็กดี ดังนั้นผู้ใหญ่ก็เลยไม่โกรธเขามากนัก ปัญหาการเรียนของเขาเริ่มเห็นเด่นชัดเมื่อเขาเรียนอยู่ประถมปีที่ 3 เมื่อคุณครูตระหนักรู้ว่ากานนจำคำได้ไม่กี่คำและเขียนยังกับเด็กที่เรียนอยู่ชั้นประถมปีที่ 1 และคุณครูแนะนำให้กานนเรียนซ้ำชั้นเพื่อให้เขามีเวลาที่จะเรียนให้ทันเพื่อนๆ หลังจากปีหนึ่งผ่านไป พฤติกรรมของเขายังไม่สามารถควบคุมได้ และการอ่านและการเขียนของเขาก็ไม่ดีขึ้นเลย
ความบกพร่องทางการเรียนแตกต่างจากความพิการอย่างอื่น เช่น การพิการแขนขา หรือ ตาบอด ความบกพร่องทางการเรียนเป็นความพิการที่ซ่อนเร้นอยู่ ความบกพร่องทางการเรียนไม่ได้ทิ้งร่องรอยที่ร่างกายหรือทิ้งอาการที่มองเห็นได้ซึ่งอาจช่วยทำให้คนอื่นเข้าใจหรือให้การช่วยเหลือ มีผู้หญิงคนหนึ่งตะโกนใส่หน้ามนตรีว่า “คุณดูเป็นคนฉลาด คุณไม่เหมือนคนพิการ”
ความบกพร่องทางการเรียน เป็นความผิดปกติที่ส่งผลต่อความสามารถของบุคคลในการแปลความหมายสิ่งที่เห็น หรือ สิ่งที่ได้ยิน หรือ เชื่อมโยงข้อมูลจากหลายส่วนของสมองเข้าด้วยกัน ข้อจำกัดในความสามารถดังกล่าวนี้สามารถก่อให้เกิดปัญหาในหลายรูปแบบ เช่น มีความยากลำบากในการพูด และ การเขียน สหสัมพันธ์ด้านการเคลื่อนไหว การควบคุมตนเอง หรือ สมาธิ ความยากลำบากเหล่านี้ส่งผลต่อความสามารถในการเรียนและเป็นอุปสรรคในการเรียนรู้ที่จะอ่าน หรือ เขียน หรือ คิดคำนวณ
ความบกพร่องทางการเรียนเป็นสภาวะที่เกิดตลอดชีวิต ในบางรายอาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตของบุคคล ทั้งที่โรงเรียน ที่ทำงาน การทำกิจวัตรประจำวัน ชีวิตครอบครัว และบางครั้งแม้แต่มิตรภาพและการเล่น ในบางรายอาจมีความบกพร่องทางการเรียนหลายด้านซ้อนกัน บางรายอาจมีความบกพร่องทางการเรียนเพียงด้านเดียว ซึ่งปัญหาความบกพร่องทางการเรียนเพียงด้านเดียวมีผลต่อการดำเนินชีวิตน้อย

การวินิจฉัยว่ามี “ความบกพร่องทางการเรียน” ไม่เหมือนกับพวกโรคหัด หรือ คางทูม ซึ่งมีสาเหตุเดียวในการก่อให้เกิดโรคดังกล่าว และสามารถคาดคะเนได้ว่าจะมีอาการอย่างไร ความบกพร่องทางการเรียน เป็นคำที่กินความหมายที่กว้าง ครอบคลุมสาเหตุที่อาจก่อให้เกิดความบกพร่องทางการเรียนจากหลายสาเหตุ อาการ วิธีการรักษา และ ผลการรักษา ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่ารูปแบบของความบกพร่องทางการเรียนมีหลากหลาย จึงเป็นการยากที่จะวินิจฉัยหรือบอกสาเหตุที่แน่ชัด และยังไม่มีใครทราบถึงยาหรือวิธีการรักษาที่จะใช้
ปัญหาทางการเรียนทุกปัญหาไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นความบกพร่องทางการเรียน เด็กจำนวนมากที่ช้าในพัฒนาการบางด้านหรือบางทักษะ เพราะเด็กมีความแตกต่างกันโดยธรรมชาติในอัตราเร็วของพัฒนาการแต่ละด้าน ซึ่งบางครั้งอะไรที่ดูเหมือนว่าเป็นความบกพร่องทางการเรียนอาจเป็นเพียงมีพัฒนาการช้าเท่านั้น ในการวินิจฉัยโรคว่าเด็กมีความบกพร่องทางการเรียนหรือไม่ เด็กต้องมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่ใช้ในการวินิจฉัยโรค
เกณฑ์และลักษณะสำหรับวินิจฉัยว่าเด็กมีความบกพร่องทางการเรียนปรากฏอยู่ในหนังสืออ้างอิงที่เรียกสั้นๆ ว่า ดีเอสเอ็ม (DSM) ซึ่งย่อมาจาก “The diagnostic and statistical Manual of Mental Disorders“ การวินิจฉัยโรคตามดีเอสเอ็มมักใช้ในกรณีที่มีการสมัครประกันสุขภาพที่ครอบคลุมการบริการในการวินิจฉัยและการให้การบำบัดรักษา






"เด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน" โดย นางสาว ศิวพร ใจตุ้ย





เด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน
เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน หมายถึงเด็กหูหนวก และ เด็กหูตึงเด็กหูหนวก เป็นเด็กที่สามารถได้ยินเสียงคนพูดน้อยมาก ใช้เครื่องช่วยฟังก็ไม่ได้ผล ซึ่งเด็กหูตึงเป็นเด็กที่สามารถได้ยินเสียงพูดบ้าง แต่ต้องใช้เครื่องช่วยฟัง ช่วยขยายเสียงให้ชัดเจนขึ้นสาเหตุที่ทำให้หูพิการมาตั้งแต่เด็กขณะที่แม่ตั้งครรภ์อาจได้รับเชื้อ ไวรัสหัดเยอรมัน เยื้อหุ้มสมองอักเสบ และซิฟิลิส ขณะที่แม่ตั้งครรภ์อาจได้รับสารหรือยาที่เป็นอันตราย กรรมพันธุ์ เด็กขาดออกซิเจนเป็นเวลานาน ในขณะทำคลอด เด็กที่ต้องคลอดก่อนกำหนด ทำอย่างไรถึงจะรู้ว่าเด็กมีความพิการทางหูจากคำแนะนำของคุณหมอเด็ก จากโรงพยาบาลที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่ง กล่าวว่า ถ้าอยากจะรู้ว่าเด็กคนนั้นมีความผิดปกติทางหูหรือไม่นั้น ต้องอาศัยการตรวจอย่างละเอียด อย่างสม่ำเสมอ ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 1 ขวบ ซึ่งการตรวจเช็คนั้นจะมีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้คุณหมอทราบว่าเด็กคนนั้นมีความพิการทางหูหรือไม่ แต่คุณแม่สามารถสังเกตุจากพัฒนาการการได้ยินเสียงของลูกได้ คือ เด็กตั้งแต่แรกเกิด เมื่อได้ยินเสียงดัง เค้าจะผวา อายุ 5 เดือน เค้าก็จะพยายามเปล่งเสียง อ้อ แอ้ เพื่อตอบสนองเวลาเราพูดด้วย และอายุ 9 เดือน ลูกจะพยายามหันมองตามเสียงที่เราเรียก ดังนั้น คุณแม่ควรเฝ้าดูและช่วยกระตุ้นพัฒนาการทางการฟังของลูกน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรพาลูกไปรับวัคซีนและพบคุณหมออย่างสม่ำเสมอ
อ่านต่อคลิกที่นี้ <== [แบบทดสอบ การได้ยินของเด็ก]



"ความรู้เกี่ยวกับการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ" Mr. Chawasorn Deechaiya


ความรู้เกี่ยวกับการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
การศึกษาพิเศษ (Special Education) หมายถึงการศึกษาที่ตัดให้แก่เด็กที่มีความต้องการพิเศษ (children with special needs) ทางการศึกษาแตกต่างไปจากเด็กปกติเนื่องจากมีความจากมีความผิดปกติทางร่างกาย อารมณ์พฤติกรรม หรือสติปัญญา ซึ่งต้องการการดูแลเป็นพิเศษ เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้อย่างเหมาะสมและได้รับประโยชน์จากการศึกษาอย่างเต็มที่ การจัดการศึกษาให้แก่เด็กกลุ่มนี้ จึงต้องดำเนินการสอนโดยครูที่ได้รับการฝึกฝนมาเป็นพิเศษ มีเทคนิควิธีการสอน ที่แตกต่างไปจากเด็กปกติ การจัดเนื้อหาของหลักสูตร กิจกรรมการเรียนการสอน อุปกรณ์การสอนและวิธีการประเมินผลที่เหมาะสมกับสภาพและความสามารถของแต่ละบุคคล เพื่อพัฒนาให้เกิดศักยภาพสูงสุด และการจัดการศึกษาพิเศษนี้ อาจจัดเป็นสถานศึกษาเฉพาะสำหรับเด็กที่มีความผิดปกติในระดับรุนแรง หรือจัดการศึกษาในโรงเรียนปกติในรูปแบบการเรียนร่วม สำหรับเด็กที่มีระดับความผิดปกติไม่รุนแรงมาก
การศึกษาเพื่อคนพิการ สำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ ได้ดำเนินการตามประเภทการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ซึ่งแบ่งออกเป็น 9 ประเภทคือ
1. เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น
2. เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
3. เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
4. เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและการเคลื่อนไหว
5. เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
6. เด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรม
7. เด็กออทิสติก
8. เด็กสมาธิสั้น
9. เด็กที่มีความบกพร่องซ้ำซ้อน

รูปแบบการจัดการศึกษาพิเศษสำหรับเด็กพิการ
มีหลักการที่สำคัญคือการเตรียมความพร้อม การจัดการเรียนการสอน และจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับเด็กพิการในแต่ละระดับและแต่ละประเภท และบำบัดฟื้นฟูให้ความช่วยเหลือเพื่อให้เด็กพิการได้รับประโยชน์สูงสุดจากการศึกษาจนสามารถพัฒนาเต็มที่ตามศักยภาพของแต่ละบุคคล โดยจัดแบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้ อ่านต่อคลิกที่นี้ <==

"การแบ่งระดับเด็กพิการทางสติปัญญา" โดย

เด็กพิการทาง สติปัญญา
เด็กบกพร่องทางสติปัญญา หมายถึง เด็กที่มีสติปัญญาต่ำกว่าเด็กปกติทั่วไป ซึ่งส่งผลให้เด็กเหล่านี้มีปัญหาในการปรับตัว ทำให้เด็กไม่สามารถปรับตัวได้เหมือนกับเด็กปกติ พฤติกรรมดังกล่าวจะแสดงให้เห็นได้ตั้งแต่ในวัยเด็ก (Reynolds & Birch, 1977 อ้างอิงจาก ผดุง อารยะวิญญู : 2538)
องค์การอนามัยโลกให้นิยามของภาวะปัญญาอ่อน (Mental retardation) ว่า หมายถึง ภาวะที่พัฒนาการของเด็กหยุดชะงัก หรือบกพร่อง หรือไม่สมบูรณ์ โดยมีลักษณะสำคัญคือ ระดับสติปัญญาต่ำกว่าปกติ (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, 2539)

ระดับสติปัญญาของเด็กปัญญาอ่อน


AAMD : The American Association on Mental Deficiency
DSM-III : The Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorder
WHO : World Health Organization

ทางการศึกษาแบ่งเด็กปัญญาอ่อนเป็น 3 ระดับ
1. เด็กปัญญาอ่อนที่เรียนหนังสือได้ (Educable mentally retarded)
2. เด็กปัญญาอ่อนที่ฝึกได้ (Trainable mentally retarded)
3. เด็กปัญญาอ่อนขั้นรุนแรง และรุนแรงมาก


การวินิจฉัยเด็กบกพร่องทางสติปัญญา
การวินิจฉัยเด็กจะต้องอาศัยเวลา และการสังเกตซึ่งพอจะแยกได้ดังนี้
1. ความล่าช้าทางการเคลื่อนไหว (Delay Motor Development)
2. ความล่าช้าทางทักษะมือและสายตา (Delay Phychomotor Development)
3. ความล่าช้าทางสติปัญญาและไหวพริบ (Delay Development of Common Sense)
4. ความล่าช้าทางการเรียนรู้วิชาการ (Delay Academic Development)
5. ความล้าช้าทางภาษาพูด (Delayed Speech)

"การสอนซ่อมเสริมนั้นสำคัญไฉน" โดย ดร. ปฐมพงศ์ ศุภเลิศ

การสอนซ่อมเสริมนั้นสำคัญไฉน
ครูและผู้เกี่ยวข้องควรต้องทบทวนแนวทางการจัดสอนซ่อมเสริมจริงหรือ
การสอนซ่อมเสริม(Remedial Teaching)
ความสำคัญ
การสอนซ่อมเสริม มีบทบาทสำคัญยิ่งในการจัดการเรียนการสอนทุกวิชาให้มีประสิทธิภาพทั้งนี้เพราะผู้เรียนมีความแตกต่างระหว่างบุคคล จึงต้องการจัดการเรียนการสอนที่แตกต่างกัน การสอนซ่อมเสริมเป็นการจัดการเรียนการสอนลักษณะหนึ่ง ซึ่งตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน การจัดการศึกษาควรตั้งอยู่บนพื้นฐานดังต่อไปนี้ (ผดุง อารยะวิญญู ๒๕๓๙ : ๑๗)
๑. ผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกันทั้งในด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคม
๒. ผู้เรียนแต่ละคนมีพื้นฐานต่างกัน และแต่ละคนจะต้องเรียนรู้เพื่อปรับตัวเข้าหากัน และให้ทันโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป
๓. ผู้เรียนแต่ละคนย่อมมีความสามารถอยู่ในตัวมากบ้างน้อยบ้าง การศึกษาจะช่วยให้ความสามารถของผู้เรียนปรากฏเด่นชัดขึ้น
๔. ในสังคมมนุษย์นั้นย่อมมีทั้งคนปกติและคนพิการ ในเมื่อเราไม่สามารถแยกคนพิการออกจากสังคมของคนปกติได้ เราก็ไม่ควรแยกให้การศึกษาแก่ผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ ดังนั้นหากเป็นไปได้ควรให้ผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษได้มีโอกาสเรียนร่วมกับคนปกติเท่าที่สามารถจะทำได้
๕. การให้การศึกษาควรมีหลากหลายรูปแบบเพื่อให้ผู้เรียนได้มีศักยภาพการเรียนรู้ได้เต็มที่
ในปัจจุบันมีผู้ที่สนใจศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการสอนซ่อมเสริมมากเพราะเห็นว่า สำคัญและจำเป็นต่อการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนโดยองค์รวม การจัดการเรียนการสอนเพื่อสนองตามความแตกต่างระหว่างบุคคล จากการเห็นความสำคัญของการจัดกิจกรรมสอนซ่อมเสริมดังกล่าว นักการศึกษาจึงได้พยายามแสวงหาแนวทางในการจัดการเรียนการสอนแบบต่างๆ ดังจะแสดงให้เห็นเป็นตัวอย่าง ดังนี้ (ดวงเดือน อ่อนน่วม ๒๕๓๓ :๑๕)
๑. การจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กสามารถพิเศษ หมายถึง การจัดการเรียนการสอนให้แก่เด็กที่มีความสามารถเด่นกว่าเด็กปกติ ซึ่งจัดทำในหลากหลายลักษณะ เช่น
๑.๑ จัดชั้นเรียนให้เฉพาะเด็กสามารถพิเศษ การจัดชั้นเรียนแบบนี้เป็นการจัดกลุ่มตามความสามารถ โดยแยกกลุ่มเด็กสามารถพิเศษออกมาจากกลุ่มเด็กปกติ การแยกกลุ่มอาจเป็นแบบเต็มวัน ครึ่งวัน หรือเฉพาะบางเวลา โดยอาจจัดทำหลายครั้งต่อสัปดาห์ หรือเพียงสัปดาห์ละครั้ง
๑.๒ โรงเรียนฤดูร้อน เป็นการใช้เวลาว่างช่วงฤดูร้อนส่งเสริมความสามารถทางวิชาการให้แก่เด็กสามารถพิเศษ ซึ่งอาจทำในรูปของการเร่งการเรียน คือเรียนหลักสูตรที่สูงกว่าระดับปกติ หรืออาจเป็นการเสริมหลักสูตรปกติ
๒. การจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กด้อยกว่าปกติ หมายถึง การจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กที่มีความด้อยกว่าปกติทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคม ตัวอย่างเช่น
๒.๑ เด็กเรียนช้า (ไอคิว ระหว่าง ๘๐ - ๙๕)
๒.๒ เด็กปัญญาทึบ (ไอคิว ระหว่าง ๖๐ - ๘๐)
๒.๓ เด็กที่บกพร่องทางสายตา
๒.๔ เด็กที่บกพร่องทางการฟัง
สำหรับไอคิว เด็กปกติ ประมาณ ๙๐ – ๑๐๙
๓. การจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กปกติ หมายถึง การจัดการเรียนการสอนสำหรับผู้เรียนปกติที่อยู่ในชั้นเรียนทั่วไป ตัวอย่างเช่น
๓.๑ การแบ่งกลุ่มตามความสามารถ ซึ่งอาจทำโดยแบ่งแยกผู้เรียนเป็น ๓ กลุ่ม คือ เก่ง ปานกลาง และอ่อน โดยให้ผู้เรียนที่มีความสามารถใกล้เคียงกันเรียนอยู่ห้องเดียวกัน หรืออาจจะเป็นการแบ่งกลุ่มภายในห้องเรียนเดียวกัน
๓.๒ การสอนตามเอกัตภาพ เป็นการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งให้ผู้เรียนแต่ละคนเรียนก้าวหน้าไปตามความสามารถของตนเอง ตัวอย่างเช่น โปรแกรม IPI (Individually Prescribed Instruction) ซึ่งพัฒนาโดยศูนย์วิจัยและพัฒนาการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยพิตสเบิร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา โปรแกรมนี้ประกอบด้วยชุดการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการคำนวณ ซึ่งประกอบด้วยสื่อการสอนหลายประเภท เช่น แบบเรียน แผ่นปลิวสำหรับฝึกทักษะ แบบสอบ ครูมีหน้าที่บันทึกความก้าวหน้าของผู้เรียนวินิจฉัยการเรียนและกำหนดโปรแกรม นอกจากนี้ครูอาจสอนเพิ่มเติมเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่มย่อยตามความต้องการของผู้เรียน เมื่อสอบผ่านเกณฑ์ที่กำหนดก็เรียนเรื่องอื่นต่อไป
อย่างไรก็ตามนักการศึกษาได้พยายามแสวงหารูปแบบใหม่
อยู่เสมอ ตัวอย่างเช่น การจัดการเรียนการสอนแบบ IGE (Individually Guided Education) ซึ่งพัฒนาขึ้นโดย Wisconsin Research and development Center for Cognitive Learning กล่าวโดยสรุป การจัดการเรียนการสอนเพื่อสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียนสามารถทำกันได้หลายลักษณะ ซึ่งเป็นแนวความคิดที่ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลได้
ความหมาย
การสอนซ่อมเสริม (Remedial Teaching) หมายถึง การสอนเด็กที่พัฒนาด้านการเรียนยังไม่เต็มความสามารถในการเรียนตามปกติ โดยการแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆที่จะมีผลต่อการเรียน ขจัดการเรียนรู้ที่ไม่ถูกวิธี ตลอดจนเสริมทักษะในการเรียนรู้ใหม่ๆ การสอนซ่อมเสริมจะเน้นเด็กเป็นหลัก เนื่องจากเด็กแต่ละคนมีเอกลักษณ์ของตน การที่ครูจะใช้วิธีสอนนักเรียนทุกคนให้เหมือนกันหมด ประหนึ่งว่านักเรียนทุกคนมีความรู้ ความสามารถระดับเดียวกัน ย่อมทำให้การสอนไม่บังเกิดผลดีทำให้เด็กบางคนไม่สามารถพัฒนาไปได้ดีเท่าที่ควร เมื่อถูกละเลยนานเข้าปัญหาต่างๆก็ทับทวีจนยากต่อการแก้ไข ด้วยเหตุนี้การสอนซ่อมเสริมจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง (ศรียา นิยมธรรม และ ประภัสร นิยมธรรม ๒๕๒๕ : ๔๗)
พื้นฐานแนวคิดของคำ
การจัดกิจกรรมสอนซ่อมเสริม มีคำหลักๆ ๒ คำ ได้แก่ คำว่า “การสอนซ่อม” และ “การสอนเสริม” กล่าวคือ
การสอนซ่อม เป็นการสอนเพื่อแก้ไขข้อบกพร่อง การสอนซ่อมและการวินิจฉัยเป็นของ คู่กัน กล่าวคือ การวินิจฉัยที่มีคุณค่าจะต้องติดตามด้วยการสอนซ่อม เช่นเดียวกับการสอนซ่อมที่มีคุณค่าจะต้องเป็นการสอนซ่อมที่ดำเนินการต่อจากการวินิจฉัย การสอนซ่อมใดที่ดำเนินไปโดยปราศจากการวินิจฉัย กล่าวคือ สอนไปโดยไม่ทราบข้อบกพร่องของนักเรียนการสอนซ่อมนั้นย่อมไร้จุดหมายที่แน่นอน จึงไม่เกิดประโยชน์แก่ผู้เรียนเท่าที่ควร
ครูพึงระลึกอยู่เสมอว่ามีวิธีการต่างๆอย่างหลากหลายวิธีที่ครูสามารถเลือกมาจัดเป็นกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อขจัดข้อบกพร่องของเด็กได้ ดังจะเสนอแนะไว้เป็นแนวทางบางประการดังนี้ (Ashlock ๑๙๘๒ : ๑๔ – ๑๗)
๑. กระตุ้นให้ผู้เรียนรู้จักการประเมินตนเอง ด้วยการมีส่วนร่วมในกระบวนการวัดและประเมินผล เพื่อหาข้อบกพร่องในการเรียนของตนเอง
๒. คำนึงถึงความพร้อมของผู้เรียนในแง่ของการมีพื้นฐานความรู้ ความเข้าใจ ความคิดรวบยอดย่อย ก่อนที่จะเรียนรู้ความคิดรวบยอดใหม่ซึ่งซับซ้อนกว่าเดิม
๓. คำนึงถึงความรู้สึกของผู้เรียนที่มีต่อตนเอง คือ ทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกว่าตนเองยังเป็นคนมีคุณค่าละสามารถแก้ไขข้อบกพร่องของตนเองได้
๔. การสอนซ่อมควรพยายามให้เป็นการสอนรายบุคคลให้มากที่สุด ถึงแม้ว่าบางครั้งครูจำเป็นต้องสอนซ่อมเป็นกลุ่ม ผู้เรียนแต่ละคนก็ต้องได้รับการดูแลแก้ไขเป็นรายบุคคลด้วย
๕. สร้างโปรแกรมการสอนซ่อมบนรากฐานของการวินิจฉัยการเรียน
๖. วางแผนการสอนซ่อมอย่างเป็นลำดับขั้น พยายามให้ง่าย ไม่ซับซ้อน
๗. พยายามเลือกวิธีสอนที่แตกต่างไปจากวิธีสอนเดิมที่เคยเรียนไปแล้ว เพราะผู้เรียนมักมีความกังวล หรือเกิดความรู้สึกกลัวต่อวิธีการเดิม ซึ่งทำให้ตนไม่ประสบผลสำเร็จมาแล้ว
๘. ใช้กิจกรรมการเรียนการสอนที่มีความหลากหลาย เพื่อให้ประสบการณ์ที่กว้างขวางแก่ผู้เรียน ซึ่งประสบการณ์ที่หลากหลายเหล่านี้จะส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาศักยภาพความรู้ ความเข้าใจมากยิ่งขึ้น
๙. สนับสนุนให้ผู้เรียนได้จัดกระทำกับวัตถุให้มากที่สุดเท่าที่ตนเองเห็นว่าจะช่วยให้เข้าใจบทเรียนได้ดียิ่งขึ้น โดยไม่ต้องคำนึงว่าจะเป็นการเสียเวลา
๑๐. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสดงออกถึงความเข้าใจด้วยภาษาของตนเอง
๑๑. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเลือกทำกิจกรรมตามความสนใจจากกิจกรรมที่ครูเตรียมไว้ให้ โดยที่กิจกรรมเหล่านั้นจะต้องเป็นกิจกรรมที่นำไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน
๑๒.จัดประสบการณ์เพื่อให้ผู้เรียนพัฒนาความคิดด้วยความรอบคอบ โดยเริ่มจากประสบการณ์รูปธรรมไปสู่ประสบการณ์กึ่งรูปธรรมและไปสู่การใช้สัญลักษณ์ในที่สุด
๑๓. เน้นการจัดระบบการเรียนรู้โดยนำผลการเรียนรู้ใหม่ไปผสมผสานกับผลการเรียนรู้เดิม ซึ่งจะช่วยให้เกิดผลการเรียนรู้ใหม่ที่มีความหมายต่อตัวผู้เรียนดียิ่งขึ้น
๑๔. เน้นทักษะและความสามารถอันเกี่ยวข้องกับเรื่องที่เรียน เช่น เด็กที่คิดคำนวณผิดจะสามารถคิดคำนวณได้แม่นยำขึ้นถ้ามีความสามารถในการกะประมาณ ซึ่งจะช่วยในการพิจารณาคำตอบว่าน่าจะถูกต้องหรือไม่
๑๕. ให้ความสนใจเรื่องลายมือ เพราะผู้เรียนจำนวนไม่น้อยที่คิดคำนวณผิดเพราะเขียนตัวเลขไม่ชัดเจน ทำให้ตนเองอ่านตัวเลขผิด จึงคิดคำนวณผิดไปด้วย
๑๖. การฝึกหัดควรทำหลังจากที่ผู้เรียนเข้าใจเรื่องที่เรียนดีแล้ว
๑๗. สร้างแรงจูงใจโดยเลือกกิจกรรมการฝึก ซึ่งเห็นผลได้ทันทีว่าคำตอบของผู้เรียนถูกหรือผิด
๑๘. ในเรื่องการฝึกทักษะการคิดคำนวณ ควรฝึกโดยใช้ระยะเวลาสั้นๆแต่ฝึกบ่อยๆ
๑๙. ฝึกให้ผู้เรียนสนใจและเอาใจใส่ต่อความก้าวหน้าของตนเอง เช่น ให้ผู้เรียนเก็บแผนภูมิและกราฟแสดงความก้าวหน้าในการเรียนของตนไว้
การสอนเสริม หลังจากการเรียนการสอนตามจุดประสงค์
แล้ว ครูอาจพบว่ามีผู้เรียนบางคนที่มีความสามารถสูง สามรถทำความเข้าใจบทเรียนได้เร็ว ทำแบบฝึกหัดเสร็จก่อนคนอื่น แสดงว่ามีความพร้อมที่จะเรียนรู้เรื่องอื่นได้ ครูจึงควรมีวิธีการสอนเสริม เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้พัฒนาศักยภาพของตนเองไปให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
เพื่อให้การสอนเสริมดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ครูควรคำนึงถึงหลักการ ดังต่อไปนี้ (ดวงเดือน อ่อนน่วม ๒๕๓๓ : ๑๓๕-๑๓๖)
๑. สิ่งที่ไม่ควรทำ
๑.๑ ไม่ควรให้การสอนเสริมเป็นเพียงเพื่อให้ผู้เรียนมีอะไรทำเท่านั้น เพราะจะไม่ช่วยพัฒนาความสามารถของผู้เรียนให้สูงขึ้น
๑.๒ ไม่ควรให้การสอนเสริมอยู่ในรูปของการให้งานแก่ผู้เรียนมากกว่าเดิม เช่นให้แบบฝึกหัดเพิ่ม เพราะการกระทำนี้นอกจากจะไม่เร้าความสนใจแล้วยังอาจทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกเหมือนถูกทำโทษ
๒. สิ่งที่ควรทำ
๒.๑ การเสริมการเรียนในแนวกว้างและแนวลึก ซึ่งมีความหมายดังนี้
๒.๑.๑ การเสริมการเรียนในแนวกว้าง หมายถึง การขยายขอบเขตของหลักสูตรปกติให้กว้างขึ้น โดยยังสัมพันธ์หรือต่อเนื่องกับหลักสูตรปกติและอยู่ในวิสัยที่ผู้เรียนจะเรียนรู้ได้
๒.๑.๒ การเสริมการเรียนในแนวลึก หมายถึง การที่ผู้เรียนศึกษาตามหลักสูตรปกติอย่างลึกซึ้งและเข้มข้นขึ้น เช่น ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในระดับสูง เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาและแก้ปัญหาที่ท้าทายความสามารถ เสริมทักษะการคิดระดับสูง เช่น การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การคิดอย่างเป็นระบบ เป็นต้น
๒.๒ กิจกรรมควรมีลักษณะต่างๆเหล่านี้ เช่น ท้าทาย เร้าความสนใจสนุก ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ พัฒนาสติปัญญา ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา การคิดอย่างมีเหตุผล
๒.๓ ประสบการณ์ที่จัดให้กับผู้เรียนควรมีทั้งแบบทั่วไปและแบบเจาะลึก กล่าวโดยสรุป ในการสอนซ่อมเสริม ครูควรมีการจัดกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อตอบสนองความสามารถตามศักยภาพของผู้เรียนที่แตกต่างกันอย่างมีวัตถุประสงค์และต้องมีการวางแผน จึงจะทำให้การสอนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ประเภทของผู้เรียนที่ควรรับการสอนซ่อมเสริม
ผู้ที่ควรได้รับการสอนซ่อมเสริม อาจจำแนกได้เป็น ๖ ประเภท คือ (ศรียา นิยมธรรม และ ประภัสร นิยมธรรม ๒๕๒๕ : ๔๗)
๑. ผู้ที่เรียนช้า ได้แก่ ผู้ทีที่มีไอคิวระหว่าง ๗๐-๙๐ คนเหล่านี้มีความสามารถจำกัด จึงมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ และเรียนรู้ช้ากว่าปกติ นอกจากนี้ยังขาดทักษะเบื้องต้นต่างๆ ซึ่งทำให้การเรียนยิ่งช้าลงไปอีก เป็นผลให้เด็กเกิดความท้อแท้และมีปัญหาจึงควรได้รับการสอนเสริม
๒. ผู้ทีมีปัญญาเลิศ ปกติคนกลุ่มนี้จะถูกละเลยเพราะครูคิดว่าเป็นผู้ที่สามารถช่วยตัวเองได้ การสอนตามปกติมักทำให้เกิดความเบื่อหน่าย จึงควรได้รับการสอนซ่อมเสริม เพื่อพัฒนาความสามารถที่มีอยู่ให้เต็มตามศักยภาพ
๓. ผู้ที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสติปัญญา ได้แก่ ผู้ที่มีปัญหาการเรียนอันเนื่องมาจากความบกพร่องทางสภาพร่างกาย เช่น หูหนวก ตาบอด ปัญญาอ่อน ฯลฯ เป็นต้น
๔. ผู้ที่มีปัญหาในการเรียนรู้เฉพาะอย่าง คนเหล่านี้ไม่ใช้ผู้พิการ แต่มีความบกพร่องเกี่ยวกับระบบประสาท มีปัญหาในการเรียนบางเรื่อง เช่น การรับรู้ การฟัง การพูด การอ่าน หรือการเขียนและมักมีช่วงความสนใจสั้น จึงควรได้รับการสอนซ่อมเสริมตามความจำเป็น
๕. ผู้ที่มีปัญหาทางพฤติกรรม ทำให้มีผลการเรียนต่ำกว่าระดับสติปัญญา และขีดความสามารถที่มี ทั้งนี้อันเนื่องมาจากการไม่ตั้งใจเรียน ขาดแรงจูงใจในการเรียน มีความไม่มั่นคงทางอารมณ์ หรือมีจิตใจแปรปรวนง่าย
๖. ผู้ทีมีประสบการณ์และภูมิหลังจำกัด ได้แก่ ผู้ที่มาจากครอบครัวซึ่งยึดมั่นในวัฒนธรรมหรือความเชื่อบางอย่างที่เป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ รวมถึงผู้ที่มาจากครอบครัวที่อยู่ห่างไกลความเจริญ มีปัญหาทางภูมิศาสตร์ เช่น ชาวเขา ชาวเรือ ทำให้ขาดโอกาสที่จะแสวงหาประสบการณ์ ความรู้ อย่างที่บุคคลทั่วไปรู้จักและเรียนรู้ ดังนั้นเมื่อคนเหล่านี้มาเรียนในโรงเรียนปกติจึงต้องการการสอนซ่อมเสริม
การประยุกต์ใช้
การนำความคิดการสอนซ่อมเสริมไปใช้ในชั้นเรียนปกติสำหรับประเทศไทยในปัจจุบัน ได้รับการเห็นชอบจากกระทรวงศึกษาธิการ และได้กำหนดให้มีการสอนซ่อมเสริมแก่ผู้เรียน ซึ่งไม่ผ่านจุดประสงค์การเรียนรู้ในวิชาหรือกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา) แต่ในทางปฏิบัติยังคงมีปัญหาในประเด็นที่ว่า ครูยังมีความเข้าใจไม่ตรงกันและมักมีความเข้าใจผิดกันอยู่ไม่น้อย ทั้งในเรื่องของการจัดประเภทผู้เรียนที่จะเข้ารับบริการสอนซ่อมเสริม การวินิจฉัยปัญหา ตลอดจนวิธีการสอนซ่อมเสริม คือ ผู้ที่เรียนช้า สติปัญญาต่ำ การสอนซ่อมเสริมจึงมุ่งเฉพาะผู้ที่เรียนอ่อน และจุดประสงค์ในการสอนซ่อมเสริมก็เพื่อที่จะให้เรียนทันเพื่อน ทันหลักสูตร และสอบผ่านเท่านั้น วิธีการสอนก็มักทำโดยการสอนพิเศษ คือ เพิ่มเวลาสอนโดยสอนซ้ำวิธีการเดิม ให้ทำแบบฝึกหัดมากขึ้น ไม่ได้พิจารณาถึงการนำสื่อการสอนที่เหมาะสมมาใช้ ผลก็คือผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่าย เคร่งเครียดจนเป็นเหตุให้เกิดปัญหาทางอารมณ์และหาทางออกด้วยการเกเร แกล้งเพื่อน หนีโรงเรียน ฯลฯ เป็นต้น (ศรียา นิยมธรรม และ ประภัสร นิยมธรรม ๒๕๒๕ : ๔๙)
บรรณานุกรม
ดวงเดือน อ่อนน่วม. การสอนซ่อมเสริมคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๓.
ผดุง อารยะวิญญู. การศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แว่นแก้ว,๒๕๓๙.
ศรียา นิยมธรรม และ ประภัสร นิยมธรรม. การสอนซ่อมเสริม.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์พีระพัธนา,๒๕๒๕.
Ashlock, R.B. Error Patterns in Computation. Ohio : Bell & Howell Co., ๑๙๘๒.

"มาทำความรู้จัก ผู้เรียนที่มีปัญหาการเรียนรู้ด้วยกัน" โดย กระทรวงศึกษาธิการ

มาทำความรู้จัก ผู้เรียนที่มีปัญหาการเรียนรู้ด้วยกัน นักวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาพิเศษได้ให้คำจำกัดความ นักเรียนที่มีปัญหาการเรียนรู้
( learning disabilities : LD ) พอสรุปได้ว่า ความบกพร่องในกระบวนการทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการเข้าใจในการใช้ภาษาพูดหรือภาษาเขียน ซึ่งอาจแสดงออกทางความสามารถที่ไม่สมบูรณ์ในการฟัง การคิด การพูด การอ่าน การเขียน การสะกดคำหรือการคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์ นอกจากนี้ยังคอบคลุมสภาพต่างๆ เช่น ความบกพร่องในการรับรู้ ภาวะที่สมองถูกกระทบกระเทือนเพียงเล็กน้อย แต่เป้นความผิดปกติที่ไม่ได้เกิดจากความบกพร่องทางร่างกาย ทางด้านการมองเห็น การได้ยิน และระดับสติปัญญา รวมทั้งสภาพด้อยโอกาสทางสังคม (ศันสนีย์ ฉัตรคุปต์ : 2543 ผดุง อารยะวิญญู : 2542 ศรียา นิยมธรรม : 2547)
ลักษณะของเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ( ผดุง อารยะวิญญู : 2539 ) พอสรุปได้ดังนี้
1. ปัญหาในการเรียน เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้มีปัญหาในด้านการอ่าน การเขียน และคณิตศาสตร์ ปัญหาทางภาษาจะกล่าวถึงในหัวข้อถัดไป สำหรับปัญหาเกี่ยวกับสิ่งต่อไปนี้
ขนาด เด็กไม่สามารถแยกความแตกต่างของขนาดและรูปทรงได้
การนับ เด็กอาจนับเลขไม่ได้
การใช้เครื่องหมาย เช่น การบวก การลบ การคูณ และการหาร
การคำนวณมักจะคำนวณผิดแม้จะใช้เครื่องหมายถูกก็ตาม
2. ปัญหาทางภาษา เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้มักมีปัญหาด้านการพูด และการใช้ภาษาแบ่งออกได้ ดังนี้2.1 การอ่านจะอ่านข้ามบรรทัด อ่านหนังสือไม่ออก
2.2 การจำคำ จะใช้คำอื่นแทนคำที่อ่าน อ่านสลับกัน
ความเข้าใจ จำเรื่องที่อ่านไม่ได้ ไม่เข้าใจเรื่องที่อ่าน จำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับเนื้อเรื่องที่อ่านไม่ได้ หรือไม่สามารถจับใจความสำคัญได้
ลักษณะอื่นๆ เช่น อ่านทีละคำ อ่านทีละพยางค์ มีปัญหาการอ่านคำตั้งแต่ 2 พยางค์ขึ้นไป ไม่สามารถนำพยางค์มารวมกันเป็นคำได้ ไม่เข้าใจความหมาย ไม่รู้จักการเว้นวรรค
3. ความบกพร่องทางการรับรู้ การรับรู้มีความหมายไปถึงการใช้ประสาทสัมผัสเพื่อจำแนก จำ และแปลความหมาย โดยมรลักษณะปัญหาในการรับรู้ต่อไปนี้
3.1 การรับรู้ทางสายตา ได้แก่ การมองเห็นภาพแต่ไม่สามารถอธิบายภาพที่เห็นได้
3.2 การจำแนกภาพด้วยสายตา ได้แก่ การไม่สามารถรับรู้ความแตกต่างของ ภาพ สองภาพที่เหมือนกันได้
3.3 การจำโดยใช้สายตา หมายถึงการมองเห็นวัตถุสิ่งของแล้วจำไม่ได้ว่าเห็นอะไรบ้าง จำการเรียงลำดับของตัวอักษรไม่ได้
3.4 การรับรู้ทางการฟัง หมายถึงเด็กได้ยินเสียงแต่บอกไม่ได้ว่าเป็นเสียงอะไร เมื่อรับฟังแล้วไม่สามารถปฏิบัติตามคำสั่งได้อย่างถูกต้อง
3.5 การจำแนกโดยการฟัง ได้แก่ ความสามารถแยกความแตกต่างของเสียงที่ได้ยิน โดยเฉพาะเสียงที่คล้ายคลึงกัน เช่น กิน หิน ดิน
3.6 การจำโดยการฟัง หมายถึงการไม่สามารถจดจำสิ่งที่ได้ยินได้ฟังได้โดยไม่ลืม4. ความผิดปกติในกรเคลื่อนไหว จำแนกได้ 3 ลักษณะ คือ
4.1 Hyperactivity เป็นการเคลื่อนไหวเกินปกติ เด็กพวกนี้จะอยู่นิ่งเฉยไม่ได้ เคลื่อนไหวอยู่เสมอ ในลักษณะการทำซ้ำ และเป็นการเคลื่อนไหวที่ไม่มีจุดหมาย หากจับให้นั่งอาจเคาะมือ เท้า แทนการเดิน
4.2 Hypoactivity เป็นการเคลื่อนไหวที่เชื่องช้า หรือน้อยกว่าปกติ อาจนั่งอยู่กับที่ได้นานๆ โดยไม่ทำอะไรเลย
4.3 Incoordination เป็นการเคลื่อนไหวที่ควบคุมกล้ามเนื้อไม่ได้ เช่น เดินไม่ตรง รับลูกบอลไม่ได้ การใช้นิ้วมือในการหยิบจับสิ่งของไม่ได้ หรือตัดกระดาษด้วยกรรไกรไม่ได้
5. ปัญหาในด้านอารมณ์และสังคม หมายถึงคามรู่สึกที่ไม่ดีต่อตนเอง ขาดความอดทน มีความวิตกกังวลสูง ต่อต้านสังคม ทำงานช้า ก้าวร้าว และมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อตนเอง อาจไม่มีเพื่อนเพราะไม่มีใครอยากคบ6. ปัญหาในการจำ ได้แก่ การมีปัญหาในด้านการจำในสิ่งที่ได้ยินและจำในสิ่งที่มองเห็น ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการสะกดคำ การทำตามคำสั่ง ตลอดจนสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์
7. ปัญหาในด้านความสนใจ หมายถึง การมีช่วงความสนใจสั้น เพราะขาดสมาธิย่อมมีผลต่อการเรียนได้
จะเห็นได้ว่านักเรียนที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ มีความบกพร่องที่ต้องการผู้ที่เข้าใจในปัญหามาร่วมกันพัฒนา และช่วยแก้ไข เพราะเด็กแต่ละคนมีสภาพปัญหาที่แตกต่างกัน มีความจำเป็นที่จะต้องผ่านการคัดกรองจากผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจ สำหรับบทความนี้ เป็นการทำความเข้าใจให้ผู้อ่านได้รู้จักกับนักเรยีนที่มีปัญหาทางการเรียนรู้เป็นเบื้องต้นไว้ก่อน
ที่มา :
กระทรวงศึกษาธิการ. “มาทำความรู้จัก ผู้เรียนที่มีปัญหาการเรียนรู้ด้วยกัน”. วารสารวิชาการ . ปีที่ 10
ฉบับที่ 1 , (2550) : หน้า 62

Wednesday, January 7, 2009

"นิทานทำให้เด็กฉลาด" โดย อ.สาวิตรี รุญเจริญ

นิทานทำให้เด็กฉลาด โดย อ.สาวิตรี รุญเจริญ อ่านบทความ

วิจัยเด็ก LD "LEARNING DISABILITY RESEARCH" โดย นายอิศรพงษ์ แสงตะวัน

วิจัยเด็ก LD

LEARNING DISABILITY RESEARCH
เค้าโครงงานวิจัย
เรื่อง : การพัฒนาความสามารถของครูในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (LD)โดยการร่วมมือกัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1
ผู้วิจัย นายอิศรพงษ์ แสงตะวัน รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1
ปีที่วิจัย : ปีการศึกษา 2551

วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการพัฒนาความสามารถของครูในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (LD)โดยการร่วมมือกัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1
2. เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาความสามารถของครูผู้สอน โดยการร่วมมือกัน
3. เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบในการพัฒนาความสามารถของครูผู้สอน ในด้าน
3.1 ผลการใช้รูปแบบในการพัฒนาความสามารถของครูผู้สอน โดยการร่วมมือกัน
3.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (LD)
3.3 ความพึงพอใจของครูผู้สอนที่มีต่อรูปแบบการพัฒนา
ขอบเขตการวิจัย